- หากคุณได้รับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี มาเกิน 2 สัปดาห์ ถือเป็นระยะเวลาที่สามารถตรวจพบเชื้อได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไปตรวจแล้วในครั้งแรก ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร คุณควรติดต่อสถานพยาบาล เพื่อทำการตรวจอีกครั้งเมื่อครบ 3 เดือนคลิกอ่าน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
➤ การตรวจเอชไอวีมีกี่วิธี
➤ 3 ปัจจัย ของความเสี่ยงต่อการติดเอชไอวี - ปรับอารมณ์และจิตใจก่อนไปตรวจเลือด ปลดปล่อยความเครียดและสร้างกำลังใจที่ดี เพื่อพร้อมรับฟังผลตรวจ แน่นอนว่าใครได้รับความเสี่ยงมาก็ต้องกังวลเป็นธรรมดา แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราพยายามทำความเข้าใจกับมันว่า เราย้อนเวลากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วตอนนี้สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือ มีสติ และแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด ทำจิตใจให้เป็นปกติ มีความสุขกับเรื่องเล็ก ๆ ให้ได้ และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีนี้ให้มากขึ้น คุณก็จะรู้ว่า โรคนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย ถ้ารู้วิธีอยู่กับมัน และที่สำคัญคุณอาจจะไม่ติดเชื้อก็ได้ อย่าเพิ่งมโนไปก่อน
- การตรวจเลือดเร็ว ก็จะทำให้เราเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็วเช่นกัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า มีการพัฒนาตัวยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปได้อย่างเป็นปกติ แต่ต้องมีการป้องกันหากมีเพศสัมพันธ์ด้วย ไม่แน่ในอนาคตอันใกล้ อาจมียารักษาเอชไอวีออกมาก็ได้ เพราะมีการวิจัยพัฒนาทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน
- คนที่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นได้ โดยไม่เป็นภัย หรือไม่เป็นภาระกับใคร หากบุคคลนั้นทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัดและดูแลตัวเองเป็นอย่างดี หมั่นออกกำลังกาย สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และปฏิบัติตัวตามการแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- รับรู้ว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเอง และไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เราทุกคนควรไปตรวจเอชไอวีกันอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อชีวิตจะได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นใจ “ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ไม่ต้องมาคอยกังวล หรือถ้าเราติดเชื้อเอชไอวีก็ถือเป็นโอกาสอันดี ให้เราหันมาดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สามารถทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมและคนรอบข้างได้เหมือนเดิม