เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย
เนื้อหาสำคัญ
ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร
ยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี
Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องตรวจ HIV ก่อนและมีผลเป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)
ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัส HIV
เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ เซลล์ CD4 ลดลง มีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณี ดังนี้
- การรักษาหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV( Post-Exposure Prophylaxis) ผู้ที่ได้รับสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ โดยผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ยา และจะให้ยานานแค่ไหน ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
- Primary Infection หมายถึงภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั้งภูมิต่อเชื้อHIV เพิ่มจนสามารถตรวจพบได้ ระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
- ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีคำแนะนำในการรักษาตามตารางข้างล่าง
ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ
ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้นที่ใช้กันนั้น ดังนี้
- Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (RTIs) มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase ซึ่งเป็นenzymeที่ไว้เปลี่ยน RNA ของเชื้อเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้ ยาในกลุ่มนี้เช่น AZT (Retrovir), DDI (Videx), DDC (Hivid), 3TC (Epivir), และ D4T (Zerit) enofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
- Protease inhibitors (PIs) มีกลไกรบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ เช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir), Saquinavir, Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)
- Non-nucleoside reverse transcriptase Inhibitor (NNRTIs) มีกลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs มียาที่ใช้อยู่ เช่น Delavirdine (Rescriptor), Efavirenz (Sustiva), Nevirapine (Viramune) Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
- Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) มีกลไลยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)
ยาต้านไวรัส HIV ต้องทานตอนไหน
การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด
ซึ่งต้องใช้ตัวยาร่วมกัน 3 ชนิด หรือเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาได้ดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา ลดอัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก
แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญอย่างมากกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ต้องทานยาต้านไวรัส HIV ไปตลอดไหม
ยาต้านไวรัส ทานเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แม้ว่าผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยบางราย หลังจากทานยาต้านไวรัสเป็นเวลานาน จะพบเชื้อน้อยลงจนแทบไม่พบเชื้อ แพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าหายขาดแล้ว ผู้ป่วยต้องทานยาต่อไปตลอดชีวิต และตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้ดี ไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงใดๆ ที่อาจมีผลต่อการรักษา ทานยาสม่ำเสมอในทุกวัน
ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส HIV
- อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
- อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด มารับการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด อาเจียน อ่อนเพลีย หมดแรง (อาการของภาวะกรดในเลือด) ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
- อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ
ยาต้านไวรัส HIV ราคาเท่าไหร่
- Abacavir ราคา 840 – 1,500 บาท
- Darunavir ราคา 4,500 – 7,800 บาท
- Efavirenz ราคา 210 – 840 บาท
- Lamivudine ราคา 210 – 540 บาท
- Tenofovir 300/Emtricitabine ราคา 390 – 2,100 บาท
- PEP (30 tablets) ราคา 2,500 – 18,200 บาท
- PrEP (30 tablets) ราคา 1,000 – 3,200 บาท
**ราคาจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานบริการและชนิดของยา**
ยาต้านไวรัส HIV รับได้ที่ไหน
ยาต้านไวรัส HIV ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจาก การรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา หรือสามารถจองผ่าน LOVE2TEST
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
#ยาต้านไวรัส #ยาต้านไวรัสเอชไอวี #ยาต้าน #เอชไอวี