ไวรัสตับอักเสบบี..ภัยร้ายที่มาแบบเงียบๆ

พฤศจิกายน 8, 2022
Written By HIV Team

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคที่มีการติดเชื้อของตับจากเชื้อไวรัสตับชนิดบี มีผลให้เกิดอันตรายต่อตับและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 6-10 ของประชากรทั้งหมด

อาการของไวรัสตับอักเสบบี

ระยะเฉียบพลัน

ผู้ป่วยจะเริ่ม มีอาการภายใน 1-4 เดือน หลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน

Love2test

ระยะเรื้อรัง

  • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่ สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ

ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อกันทางไหน ?

  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • การติดต่อจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสสู่ทารกในครรภ์
  • การติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกาย
  • การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน การเจาะ การสัก

ภาวะแทรกซ้อนไวรัสตับอักเสบบี

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของไวรัสตับอีกเสบบี จะเกิดในระยะเรื้อรัง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคที่ร้ายแรงขึ้นได้ เช่น โรคตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการที่เซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลงไป หรือจนตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ใครบ้างที่ควรรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

  • ทารกแรกเกิดทุกราย 
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย(สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง)
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

  • การรักษาไวรัสตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคนี้ได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลตนเอง เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทานยาปฏิชีวนะ และทานยาแก้ปวดกรณีปวดท้อง
  • การรักษาไวรัสตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดโอกาสแพร่เชื้อใส่ผู้อื่น โดยสามารถรักษาได้ด้วยการรับยาต้านไวรัสตามคำแนะนำจากแพทย์

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

แชร์และบอกต่อ