STD และ STI มักใช้แทนกันได้ เพราะหมายถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ระหว่าง “D” และ “I” คือ ความแตกต่างระหว่างโรคและการติดเชื้อ การติดเชื้อมักเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียไวรัส หรือจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคเข้าสู่ร่างกายและเริ่มทวีคูณ และโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างกายของคุณได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อ และเริ่มมีสัญญาณและอาการของการเจ็บป่วยเกิดขึ้น
เนื้อหาสำคัญ
STI คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI) คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด
STD คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน
STI และ STD อะไรคือความแตกต่าง
STI (Sexually transmitted infection) คือ การติดเชื้อที่ป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD (Sexually transmitted disease) ซึ่งสองอย่างนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
โดยอาจเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ แต่ STI อาจจะไม่มีอาการแสดง ถึงแม้คุณจะมีการติดเชื้ออยู่ก็ตาม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจพัฒนาเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
- Sexually transmitted infections (STI, STIs)
Infection – ภาวะการติดเชื้อ = ( มีอาการและ / หรืออาการแสดง) +( ผู้ที่ไม่มี อาการ และอาการแสดง)
- Sexually transmitted diseases (STD, STDs)
Disease -โรค มีอาการ และ / หรืออาการแสดง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากมาย บางชนิดพบได้บ่อย แต่จะแบ่งได้คร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ ติดเชื้อไวรัส และติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้
- โรคเอดส์ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV
- หนองในแท้ โรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae
- หนองในเทียม โรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis
- เริมที่อวัยวะเพศ โรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส Herpes simplex virus
- หูดหงอนไก่ โรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV)
- ซิฟิลิส โรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum
- ไวรัสตับอักเสบ โรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) และไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV)
ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ?
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย กับบุคคลเหล่านี้จะทำให้คุณมีแนวโน้มการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้มากขึ้น เช่น คู่นอนชั่วครั้งชั่วคราว, มีคู่นอนหลายคน หรือมีกิจกรรมทางเพศบ่อย
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ชายคนอื่น
- อายุน้อย ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศสัมพันธ์
- เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต
- ดื่มสุรา
- ใช้สารเสพติด
เมื่อไหร่ที่ควรมาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย (ทั้งผ่านทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางหวารหนัก)
- มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่บริเวณอวัยวะเพศของคุณ ได้แก่ องคชาต, ลูกอัณฑะ, ช่องคลอด, ปากช่องคลอด, ทวารหนัก โดยมีอาการดังนี้ เป็นผื่นหรือคันที่อวัยวะเพศ, มีสารคัดหลั่งจากองคชาต ช่องคลอด หรือทวารหนัก, อาการแสบเวลาปัสสาวะ, เจ็บแผล เป็นตุ่ม หรือมีหนอง, มีติ่งหรือก้อนเนื้อขึ้นบริเวณผิวหนัง, เจ็บปวดที่อวัยวะเพศหรือท้องน้อย, มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- กังวลว่าคุณอาจติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ถุงยางอนามัยของคุณฉีกขาดหรือหลุดออกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
- คู่นอนของคุณมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
- ใช้เข็ม หลอดฉีดยา และช้อนในการฉีดสารเสพติดร่วมกับผู้อื่น
จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ?
เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย และไม่หาย
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย
- หนองใน
- หนองในเทียม
- ซิฟิลิส
- ทริคโคโมแนส
- กามโรคของท่อและต่อม
- น้ำเหลือง
- แผลริมอ่อน
- หิดและโลน
- ตับอักเสบเอ
- หูดข้าวสุก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาไม่หายขาด
- เอชไอวี
- เริมอวัยวะเพศ
- หูดหงอนไก่
- ตับอักเสบบี
- ตับอักเสบซี
วิธีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำอย่างไรได้บ้าง ?
- การไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ การมีคู่นอนคนเดียวและคู่นอนไม่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคได้
- การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีและทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก ตรวจสอบวันที่ใช้งานเสมอ เนื่องจากถุงยางอนามัยเก่าอาจฉีกขาดได้ง่าย
- ใช้แผ่นยางทันตกรรม (แผ่นยางบาง ๆ ที่ใช้เป็นตัวกั้น) สำหรับการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก
- ใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำเพื่อช่วยลดโอกาสการฉีกขาดของถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย อย่าใช้วาสลีนหรือน้ำมันนวดตัว เพราะอาจทำให้ถุงยางหรือแผ่นยางอนามัยเสื่อมหรือฉีกขาดได้ง่าย
- ใช้ถุงยางอนามัยใหม่หรือแผ่นยางอนามัยใหม่ทุกครั้งที่คุณมีเพศสัมพันธ์ (ถึงแม้ว่าคุณหรือคู่นอนของคุณจะไม่หลั่งน้ำกามออกมา) อย่าล้างถุงยางอนามัยและนำกลับมาใช้อีก
- หากคุณมีเพศสัมพันธ์กับคนมากกว่าหนึ่งคน (มีเพศสัมพันธ์แบบสามคนหรือแบบเป็นกลุ่ม) เปลี่ยนถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางทันตกรรมใหม่สำหรับแต่ละคน
- เมื่อใช้เซ็กซ์ทอยในการมีเพศสัมพันธ์แบบสามคนหรือแบบเป็นกลุ่ม ให้ใช้ถุงยางอนามัยใหม่สำหรับแต่ละคน
- หากคุณหรือคู่นอนของคุณมีอาการ อย่าสัมผัสหรือถูบริเวณนั้น
- หากคุณคิดว่า คุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่ามีเพศสัมพันธ์อีกจนกว่าคุณจะไปพบแพทย์
- การตรวจคัดกรองโรคหนองในแท้และหนองในเทียมปีละครั้ง โดยเฉพาะหญิงอายุน้อยกว่า 25 ปีที่มีกิจกรรมทางเพศบ่อย หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือกลุ่มชายรักชาย และการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสอย่างน้อยปีละครั้งในกลุ่มชายรักชาย
- การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สำหรับคนที่มีอายุ 9-45 ปี โดยเฉพาะก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ https://www.pidst.or.th/A732.html