ภูมิคุ้มกันโรคและการติดเชื้อฉวยโอกาส โรคติดเชื้อที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับคนปกติทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกัน (CD4)ต่ำลง หรือ เกิดภาวะที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง”
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค และอาจกลับเป็นโรคเดิมซ้ำได้หากภูมิคุ้มกันต่ำลง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา โอกาสที่จะเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสก็มีมากจำเป็นต้องให้ยา ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสโรคที่พบบ่อยๆได้แก่
ชื่อโรค | อาการ | การดูแล | การรักษา |
เชื้อราในปาก | เป็นฝ้าขาวในช่องปาก/ลิ้น กลืนลำบาก เบื่ออาหาร | รักษาความสะอาดช่องปาก ใช้น้ำเกลือบ้วนปาก | พบแพทย์ให้ยาต้านเชื้อราอม/กิน |
งูสวัด | ตุ่มน้ำใส ปวดแสบ ปวดร้อน | รักษาความสะอาดของร่างกายและมือ ห้ามแกะเกา | พบแพทย์รับยาทา/ยากิน |
ตุ่มพีพีอี | ตุ่มคล้ายยุงกัดหรือมดกัด ขึ้นตามลำดัวแขนขา คันมาก | ตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงยุงกัดรักษาความสะอาดของร่างกายหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด | พบแพทย์รับยาแก้แพ้/คัน |
วัณโรค(Tuberculosis) | อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ บางครั้งไอเป็นเลือด ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำๆ เป็นเวลา เหงื่อออกตอนกลางคืน | ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังเป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ | กินยารักษาวัณโรคนาน6-12 เดือน |
ปอดอักเสบพีซีพี | มีไข้สูง ไอนานๆครั้ง หรือ ไอเป็นชุดมีอาการเหนื่อย หอบ | ควรดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้พอบ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย | ส่วนใหญ่นอนรพ.รักษาต่อเนื่องนาน 3 สัปดาห์ |
เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง(Cryptococcol) | ไข้สูง ปวดศีรษะมาก อาเจียน ปวดต้นคอมาก สับสน การมองเห็นเปลี่ยนไป | เจาะกรวดน้ำไขสันหลังตรวจเลือดหาการติดเชื้อ | นอนรพ.ให้ยาต้านเชื้อราทางหลอดเลือด |
ฝีที่สมอง(Toxoplasmosis | อ่อนแรง ตาพร่า ชักเกร็ง หมดสติ | ตรวจเอ็กชเรย์คอมพิวเตอร์สมอง | นอนรพ.ให้ยาทางหลอดเลือด |
CMV(Cytomegalovirus) | ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ปวดกระบอกตา | ตรวจการมองเห็น ส่งปรึกษาจักษุแพทย์ | ฉีดยาเข้าหลอดเลือด/ตา |
การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และเริ่มยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด ช่วยลดการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้
เมื่อเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสเกิดขึ้น ให้รีบเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด