การตรวจเอชไอวี(HIV)

กันยายน 7, 2019
Written By admin

ตรวจเลือดเอดส์

การตรวจเอดส์ การตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หลาย ๆคน อาจจะยังสงสัยว่า ตรวจเลือด HIV ขั้นตอนเป็นอย่างไร? เมื่อไหร่ถึงควรไปตรวจ? การตรวจ hiv มีกี่วิธี ? หรือแม้แต่ หลายคนก็อาจจสงสัยว่าตรวจหาเชื้อเอชไอวีหลังมีพฤติกรรมเสี่ยงกี่วันถึงจะมั่นใจว่าปลอดภัยแน่นอน?

การตรวจเอชไอวี HIV มี 3 วิธี 

  • Antibody เป็นวิธีตรวจหาภูมิคุ้มเคยต่อเชื้อ สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยตรวจด้วยชุดตรวจ forth  generation ซึ่งสามารถตรวจหาได้ทั้งตรวจหาภูมิคุ้นเคย (Antibody) และการตรวจหาชิ้นส่วนของเชื้อ (Antigen) บริการนี้คนไทยสามารถตรวจได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ถึงปีละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพียง“ยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น  
  • NAT เป็นบริการเสริมที่ใช้ตรวจร่วมกับการตรวจ Antibody โดยตรวจหาสายพันธุกรรมของเชื้อ HIV สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยง 5 วันขึ้นไป
  • PCR เป็นการวิธีตรวจหาสารพันธุกรรมในตัวเชื้อเอชไอวี สามารตรวจได้หลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

เมื่อไหร่ถึงควรไปตรวจเอชไอวี ?

  • ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจใหม่ทำให้ระยะวินโดว์พีเรียดลดลงเไม่ถึงหนึ่งเดือนก็ตรวจได้แล้ว ดังนั้นหากหากมีความสงสัย สามารถไปตรวจได้เลยที่ทุกสถานพยาบาลของรัฐ 
  • หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงโรคเอดส์ หรือเสี่ยงติดเชื้อ HIV เราก็สามารถไปรับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง และหากตรวจแล้วพบเชื้อ ก็สามารถรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ ที่โรงพยาบาลทุกแห่งภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ
  • การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน กับคู่นอนที่เราไม่ทราบผลเลือด
  • ต้องการวางแผนมีบุตร หรือว่าต้องการสร้างครอบครัว 
  • เคยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

ขั้นตรวจการตรวจ HIV  มีอะไรบ้าง ?

  1. แสดงตัวเจ้าหน้าที่หน้า ในสถานบริการเพื่อขอรับบริการ
  2. รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนตรวจเอชไอวี
  3. เข้ารับการตรวจเลือด
  4. รอฟังผลเลือด (ภายในวันเดียวหรือขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล)

เด็กที่อายุ ต่ำกว่า 18 สามารถตรวจ HIV ได้ โดยไม่ต้องขอการยินยอมจากผู้ปกครอง

การตรวจเอชไอวีแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความกังวลใจ และจะทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับทราบข้อมูลในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงเทคนิคในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและนำไปสู่ผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น หากมีความเสี่ยงก็ป้องกัน ด้วยถุงยาง หรือทานเพร็พ

แชร์และบอกต่อ